อาหารไทย ถือว่าเป็นอาหารที่มีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงพืชผักต่างๆ รวมทั้งเครื่องปรุง เครื่องเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของอาหารไทย การใช้เครื่องเทศ นอกจากใช้ในการแต่งรสแต่งกลิ่น และเพิ่มสีสันของอาหารแล้ว ยังใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เครื่องเทศที่ใช้ในอาหารไทยส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณในทางยาที่ทำให้ถือว่าอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพ

เครื่องเทศ

หมายถึง ส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด เปลือก ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้งแล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่นๆที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น พริก พริกไทย อบเชย งา

เครื่องเทศทีใช้ในอาหารไทยแต่ละจานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในเรื่องรสชาติที่เผ็ดร้อน สีสันที่สวยงาม และทีสำคัญคือกลิ่นหอมของเครื่องเทศ ไม่เพียงแต่ใช้ในการประกอบอาหารเท่านั้น เครื่องเทศยังมีสรรพคุณทางยารักษาโรคอีกด้วย

เครื่องเทศที่นิยมใช้ในอาหารไทยแบ่งออกได้สองประเภท คือ เครื่องเทศสดและเครื่องเทศแห้ง

เครื่องเทศสด ได้แก่ พืชสวนครัวที่มีน้ำมันหอมระเหยในขณะที่ยังสดอยู่ และจะค่อยๆระเหยจางไปกับความแห้ง ซึ่งจะทำให้ความหอมลดลงหรือหมดไป เช่น กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ โหระพา แมงลัก ผักชีฝรั่ง ขึ้นฉ่าย ใบมะกรูด ตะไคร้ ขิง เป็นต้น

เครื่องเทศแห้ง จะให้น้ำมันหอมระเหยเมื่อแห้ง และยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งจะกระตุ้นให้คายกลิ่นหอมออกมา ดังนั้นก่อนจะนำไปใช้ปรุงอาหาร จึงนิยมนำมาคั่วก่อน ได้แก่ พริกไทย อบเชย โป๊ยกั๊ก กระวาน ยี่หร่า เป็นต้น

 

ลูกค้าสามารถติดต่อ “เอื้ออารี” เพื่อสั่งซื้อเครื่องเทศทั้งแบบสดและแบบแห้งได้โดย คลิก

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น